วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550

การรู้สารสนเทศ (Information Literacy)

การรู้สารสนเทศ (Information literacy)

ความหมาย
การรู้สารสนเทศ (Information literacy) หมายถึง ความรู้ความสามารถและทักษะของบุคคลในการเข้าถึงสารสนเทศ ประเมินสารสนเทศที่ค้นมาได้ และใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพทุกรูปแบบ ผู้รู้สารสนเทศจะต้องมีทักษะในด้านต่างๆ เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์และ / หรือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการใช้ภาษา ทักษะการใช้ห้องสมุด ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ความสำคัญ
การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อความสำเร็จของบุคคลในด้านต่างๆ ดังนี้
1. การศึกษา การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการศึกษาของบุคคลทุกระดับ ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในปัจจุบันตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นบทบาทของผู้สอนจึงเปลี่ยนเป็นผู้ให้คำแนะนำชี้แนะโดยอาศัยทรัพยากรเป็นพื้นฐานสำคัญ

2. การดำรงชีวิตประจำวัน การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะผู้รู้สารสนเทศจะเป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์ประเมินและใช้สารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองเมื่อต้องการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ถ้าต้องการซื้อเครื่องปรับอากาศของบริษัทใดบริษัทหนึ่งก็ต้องพิจารณามาตรฐาน คุณภาพ บริการหลังการขาย และเปรียบเทียบราคา แล้วจึงค่อยตัดสินใจ เป็นต้น

3. การประกอบอาชีพ การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการประกอบอาชีพของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพราะบุคคลนั้นสามารถแสวงหาสารสนเทศที่มีความจำเป็นต่อการประกอบอาชีพของตนเองได้ เช่น เกษตรกร เมื่อประสบปัญหาโรคระบาดกับพืชผลทางการเกษตรของตน ก็สามารถหาตัวยาหรือสารเคมีเพื่อมากำจัดโรคระบาด ดังกล่าวได้ เป็นต้น

4. สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะสังคมในยุคสารสนเทศ (Information Age) บุคคลจำเป็นต้องรู้สารสนเทศเพื่อปรับตนเองให้เข้ากับสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เช่น การอยู่ร่วมกันในสังคม การบริหารจัดการ การดำเนินธุรกิจและการแข่งขัน การบริหารบ้านเมืองของผู้นำประเทศ เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่าผู้รู้สารสนเทศ คือ ผู้ที่มีอำนาจสามารถาชี้วัดความสามารถขององค์กรหรือประเทศชาติได้ ดังนั้นประชากรที่เป็นผู้รู้สารสนเทศจึงถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดของประเทศ

องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศ

การรู้สารสนเทศเป็นทั้งความรู้ ความสามารถ ทักษะ และกระบวนการอันเป็นประโยชน์ในการพัฒนา การเรียนรู้ทุกรูปแบบ สมาคมห้องสมุดอเมริกัน (American Library Association. 2005 : Online) ได้กำหนดองค์ประกอบของการรู้สารสนเทศไว้ 4 ประการ คือ

1. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ ผู้เรียนจะต้องกำหนดเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้า กำหนดความต้องการสารสนเทศ ระบุชนิดและรูปแบบที่หลากหลายของแหล่งสารสนเทศที่จะศึกษา เช่น ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ พิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ บุคคล สถานที่ อินเทอร์เนต เป้นต้น รวมทั้งตระหนักถึงค่าใช้จ่ายและประโยชน์ที่ได้รับ และทราบขอบเขตของสารสนเทศที่จำเป็น

2. การเข้าถึงสารสนเทศ ผู้เรียนสามารถเลือกวิธีการค้นคืนสารสนเทศที่เหมาะสม กำหนดกลยุทธ์การค้นคืนอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถค้นคืนสารสนเทศออนไลน์หรือสารสนเทศจากบุคคลโดยใช้วิธีการที่หลากหลายสามารถปรับกลยุทธ์การค้นคืนที่เหมาะสมตามความจำเป็น รวมถึงการตัดตอน บันทึก และการจัดการสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ

3. การประเมินสารสนเทศ ผู้เรียนสามารถสรุปแนวคิดสำคัญจากสารสนเทศที่รวบรวม โดยใช้เกณฑ์การประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ ได้แก่ ความน่าเชื่อถือ ความเที่ยงตรง ความถูกต้อง และความทันสมัย สามารถสังเคราะห์แนวคิดหลักเพื่อสร้างแนวคิดใหม่ เปรียบเทียบความรู้ใหม่กับความรู้เดิมเพื่อพิจารณาว่าอะไรคือสิ่งที่เพิ่มขึ้น อะไรคือสิ่งที่ขัดแย้งกัน และอะไรคือสิ่งที่คล้อยตามกัน

4. ความสามารถในการใช้สารสนเทศที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนสามารถใช้สารสนเทศใหม่ผนวกกับสารสนเทศที่มีอยู่ในการวางแผนและสร้างผลงาน หรือการกระทำตามหัวข้อที่กำหนดทบทวนกระบวนการ พัฒนาการผลิตผลงานของตนเอง และสามารถสื่อสารหรือเผยแพร่ผลงานของตนเองต่อบุคคลอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากความสามารถดังกล่าวแล้ว ผู้เรียนควรมีคุณสมบัติในด้านอื่นๆ ประกอบอีก ได้แก่

1. การรู้ห้องสมุด (Library literacy) ผู้เรียนต้องรู้ว่า ห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมสารสนเทศในสาขาวิชาต่างๆ ไว้ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเลกทรอนิกส์ รู้วิธีการจัดเก็บสื่อ รู้จักใช้เครื่องมือช่วยค้นต่างๆ รู้จักกลยุทธ์ในการค้นคืนสารสนเทศแต่ละประเภท รวมทั้งบริการต่างๆ ของห้องสมุด โดยเฉพาะห้องสมุดของสถาบันการศึกษาที่ผู้เรียนกำลังศึกษาอยู่จะต้องรู้จักอย่างลึกซึ้งในประเด็นต่างๆ ดังกล่าวแล้ว การรู้ห้องสมุดครอบคลุมการรู้แหล่งสารสนเทศอื่นๆด้วย

2. การรู้คอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) ผู้เรียนต้องรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เบื้องต้นในเรื่องของฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ การเชื่อมประสาน และการใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ เช่น การพิมพ์เอกสาร การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การใช้อินเตอร์เนตในการติดต่อสื่อสาร รวมถึงการรู้ที่ตั้งของแหล่งสารสนเทศ เป็นต้น

3. การรู้เครือข่าย (Network Literacy) ผู้เรียนต้องรู้ขอบเขตและมีความสามารถในการใช้สารสนเทศทางเครือข่ายที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก สามารถใช้กลยุทธ์การสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่าย และการบูรณาการสารสนเทศจากเครือข่ายกับสารสนเทศจากแหล่งอื่นๆ

4. การรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เห็น (Visual Literacy) ผู้เรียนสามารถเข้าใจและแปลความหมายสิ่งทีเห็นได้รวมถึงความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การเรียนรู้ การแสดงความคิดเห็น และสามารถใช้สิ่งที่เห็นนั้นในการทำงานและการดำรงชีวิตประจำวันของตนเองได้ เช่น สัญลักษณ์บุหรี่ และ มีเครื่องหมายกากบาททาบอยู่ด้านบนหมายถึง ห้ามสูบบุหรี่ สัญลักษณ์ผู้หญิงอยู่หน้าห้องน้ำ หมายถึง ห้องน้ำสำหรับสตรี เป็นต้น

5. การรู้สื่อ (Media Literacy) ผู้เรียนต้องสามารถเข้าถึง วิเคราะห์ และผลิตสารสนเทศจากสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ ภาพยนตร์ วิทยุ ดนตรี หนังสือพิมพ์ นิตยสาร เป็นต้น รู้จักเลือกรับสารสนเทศจากสื่อที่แตกต่างกัน รู้ขอบเขตและการเผยแพร่สารสนเทศของสื่อ เข้าใจถึงอิทธิพลของสื่อ และ สามารถพิจารณาตัดสินได้ว่าสื่อนั้นๆ มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงไร

6. การรู้สารสนเทศดิจิทัล (Digital Literacy) ผู้เรียนสามารถเข้าใจและใช้สารสนเทศรูปแบบซึ่งนำเสนอในรูปดิจิทัลผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างการรู้สารสนเทศดิจิทัล เช่น สามารถดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลจากแหล่งทรัพยากรสารสนเทศที่เข้าถึงในระยะไกลมาใช้ได้ รู้ว่าคุณภาพสารสนเทศที่มาจากเว็บไซต์ต่างๆ แตกต่างกันรู้ว่าเว็บไซต์น่าเชื่อถือและเว็บไซต์ไม่น่าเชื่อถือ รู้จักโปรแกรมการค้นหา สามารถสืบค้นโดยใช้การสืบค้นขั้นสูง รู้เรื่องของกฎหมายลิขสิทธิ์ที่คุ้มครองทรัพยากรสารสนเทศบนเว็บไซต์ การอ้างอิงสารสนเทศจากเว็บไชต์ เป็นต้น

7. การมีความรู้ด้านภาษา (Language Literacy) ผู้เรียนมีความสามารถกำหนดคำสำคัญสำหรับการค้น ในขั้นตอนการค้นคืนสารสนเทศที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ การค้นสารสนเทศจาก
อินเตอร์เนต และการนำเสนอสารสนเทศที่ค้นมาได้ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่จำเป็นมากที่สุด เนื่องจากเป็นภาษาสากล และสารสนเทศส่วนใหญ่เผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษ

8. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตัดสินใจเลือกรับสารสนเทศที่นำเสนอไว้หลากหลาย โดยการพิจารณาทบทวนหาเหตุผล จากสิ่งที่เคยจดจำ คาดการณ์ โดยยังไม่เห็นคล้อยตามสารสนเทศที่นำเสนอเรื่องนั้นๆ แต่จะต้องพิจารณาใคร่ครวญไตร่ตรองด้วยความรอบคอบและมีเหตุผลว่าสิ่งใดสำคัญมีสาระก่อนตัดสินใจเชื่อ จากนั้นจึงดำเนินการแก้ปัญหา

9. การมีจริยธรรมทางสารสนเทศ (Information Ethic) การสร้างผู้เรียนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ มีความสำคัญและเป็นเป้าหมายหลักของการจัดการศึกษา เพื่อปลูกฝังผู้เรียนให้รู้จักใช้สารสนเทศโดยชอบธรรมบนพื้นฐานของจริยธรรมทางสารสนเทศ เช่น การนำข้อความหรือแนวคิดของผู้อื่นมาใช้ในงานของตนจำเป็นต้องอ้างอิงเจ้าของผลงานเดิม การไม่นำข้อมูลที่ขัดต่อศีลธรรมและจรรยาบรรณของสังคมไปเผยแพร่ เป็นต้น

ที่มา : คณาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.//(2548).ทักษะการรู้สารสนเทศ.//พิมพ์ครั้งแรก.//กรุงเทพฯ: ภาควิชา
บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


American Library Association (ALA)
เป็นหน่วยงานห้องสมุดที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ที่มีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพของห้องสมุดและการบริการด้านสารสนเทศ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถค้นคว้าได้จากเว็บไซต์ของหน่วยงานนี้
http://www.ala.org/
………………………………

The Association of College and
Research Libraries (ACRL)
เป็นองค์กรที่แยกมาจาก ALA: American Library Association องค์กรนี้เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านของวิชาการห้องสมุดและข้อมูลสารสนเทศ เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนางานด้านบรรณารักษ์และสารสนเทศ โดยเฉพาะเรื่องของการรู้สารสนเทศ
http://www.acrl.org/ala/acrl/index.cfm หรือ
http://www.acrl.org/ala/acrl/acrlissues/acrlinfolit/informationliteracy.cfm
……………………………

ALIA Groups
สำหรับ ALIA Groups นั้นเป็นกลุ่มที่ถูกจัดตั้งขึ้นโดยสมาชิกเพื่อสมาชิกของ ALIA: Australian Library and Information Association ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเน้นในเรื่องของห้องสมุดและข้อมูลทั้งเรื่องลักษณะ รูปแบบ ตลอดจนปัญหาต่างๆ หรืออาจเป็นเรื่องของประเด็นที่น่าสนใจที่เกี่ยวกับห้องสมุดและการรู้สารสนเทศ ซึ่งเราสามรถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน่วยงานนี้
http://www.alia.org.au/groups.html

Website การรู้สารสนเทศ

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี ( Academic Resource Center and Information Technology )
http://library.tru.ac.th/
รูปแบบของเว็บไซต์
แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆได้แก่ เกี่ยวกับสำนักวิทยบริการ สารสนเทศท้องถิ่น วิทยบริการสาร ฐานข้อมูลออนไลน์ วิทยนิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ บทเรียนออนไลน์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ สมุดเยี่ยม รวมทั้งยังมีภาพประกอบในส่วนของการให้บริการและบรรยากาศของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความเกี่ยวข้องและเนื้อหาในเรื่องของการรู้สารสนเทศ
ในเว็บไซต์จะบอกข้อมูลเกี่ยวกับสารสนเทศดังนี้
1. สารสนเทศและการรู้สารสนเทศ
2. ทรัพยากรสารสนเทศและกรบริการ
3. การจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ
4. ฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์และการค้นคืน
5. หนังสือและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง
6. หนังสืออ้างอิง
7. การประเมินสารสนเทศ
8. การศึกษาค้นคว้า

สำนักนวัตกรรมการเรียนการสอน ( Institute of Learning and Teaching Innovation ) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
http://vdo.kku.ac.th/
รูปแบบของเว็บไซต์
เป็นบทเรียนออนไลน์ของนักศึกษา ให้ความรู้ครอบคลุมทุกสาขากระบวนวิชา โดยในเว็บไซต์จะประกอบไปด้วยเมนูดังนี้ เสวนาวิชาการ หลักสูตรการเรียนการสอน การพัฒนาการเรียนการสอนที่สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรม การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ทางวิชาการ หลักสูตรศึกษาทั่วไป หนังสือและคู่มือ ห้องสมุดความรู้ กระดานถามตอบ ปฏิทินกิจกรรม เว็บไซต์ที่น่าสนใจ การฝึกอบรม การเรียนรู้ในเว็บไซต์นี้หากนักศึกษาไม่เข้าใจสามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้ในบทเรียนออนไลน์ โดยตอนท้ายของแต่ละบทจะมีแบบทดสอบให้ผู้บริการได้ทำเพื่อทดสอบความรู้ความเข้าใจ
ความเกี่ยวข้องในเรื่องการรู้สารสนเทศ
ในเว็บไซด์จะบอกข้อมูลเกี่ยวกับสารสนเทศดังนี้
1. ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
2. การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
3. การเลือกแหล่งสารสนเทศ
4. การเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
5. การสืบค้นสารสนเทศโดยให้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ
6. การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินผลสารสนเทศ
7. การเรียบเรียงและนำเสนอสารสนเทศ


เว็บไซต์การรรู้สารสนเทศ
http://www.informationliteracy.org.uk/
รูปแบบของเว็บไซต์
เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมมความสำคัญของสารสนเทศดังนี้
- Information Literacy การรู้สารสนเทศ
- Developing professional practice การฝึกฝนการพัฒนาขั้นสูง
- Marketing Information Literacy การรู้สารสนเทศเพื่อการตลาด
- Research งานวิจัย
- Resources by subject แหล่งที่มา
- Events เหตุการณ์สำคัญ
- Journal of Information Literacy ( JIL ) วารสารของการรู้สารสนเทศ
โดยเว็บไซต์ได้ให้รายละเอียดของ Information Literacy ดังนี้
- Definitions of IL คำจำกัดความของการรู้สารสนเทศ
- Organisations การจัดการการรู้สารสนเทศ
- Information Literacy & Public Libraries การรู้สารสนเทศและห้องสมุดสาธารณะ
- Information Literacy & Special Libraries การรู้สารสนเทศและห้องสมุดพิเศษ
- Information Literacy models แบบอย่างของการรู้สารสนเทศ
- Media literacy การรู้จักการใช้สื่อ
- Information Literacy Journals วารสารการรู้สารสนเทศ
- Examples of Information Literacy articles ตัวอย่างบทความการรู้สารสนเทศ
- Information Literacy websites เว็บไซต์การรู้สารสนเทศ
- Information Literacy blogs บล๊อกการรู้สารสนเทศ
- Information Literacy case studies กรณีศึกษาการรู้สารสนเทศ

'
เวปไซด์ต่างประเทศที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับทางด้านการรู้สารสนเทศโดยเฉพาะ
http://www.webs.uidaho.edu/info_literacy/
รูปแบบของเว็บไซต์

http://www.webs.uidaho.edu/info_literacy/ เวปไซด์ต่างประเทศที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับทางด้านการรู้สารสนเทศโดยเฉพาะ มีบอกความหมาย รวมถึงความสำคัญของการรู้สารสนเทศ หน้าเวปไซด์ทุกหน้าก็สามารถค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการรู้สารสนเทศได้ทางมุมขวามือด้านบนได้
ในเวปไซด์แห่งนี้ก็จะแยกย่อยข้อมูลเนื้อหาความสำคัญได้ทั้งหมด 7 ประเภท ซึ่งผู้เข้าชมเวปไซด์สามารถคลิกเข้าไปชมได้ทันที ซึ่งมีดังต่อไปนี้ 1 Information
2 Topics
3 Searching
4 Locating
5 Evaluating
6 Sharing
7 UI Catalog


ห้องสมุดของ Queensland University of Technology ประเทศออสเตรเลีย
http://www.library.qut.edu.au/infoliteracy/

รูปแบบของเว็บไซต์
http://www.library.qut.edu.au/ เป็นเวปไซด์ห้องสมุดของ Queensland University of Technology ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเวปไซด์ของห้องสมุดแห่งนี้ก็จะแบ่งการใช้งานตามหัวข้อหลัก ไม่ว่าจะเป็นส่วนของหน้าหลัก Library Home หน้าเวปไซด์ส่วนของการยืมหนังสือ Borrowing จนกระทั่งหมวดของการรู้สารสนเทศ information literacy ที่ถูกจัดอยู่ในหัวข้อ Library and research help
ในส่วนหน้าที่เป็น หมวดของการรู้สารสนเทศ information literacy นั้นก็จะมีแถบเครื่องมือต่างๆอยู่ทางด้านซ้ายมือ สำหรับนักศึกษาและนักวิจัยหรือผู้เยี่ยมชมที่ต้องการค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม อีกทั้งยังมีเมนูให้ค้นหา Keyword ทางด้านขวามือบนของหน้าเวปไซด์อีกด้วย

ทักษะที่จำเป็นสำหรับสังคมสารสนเทศในยุคสารสนเทศ ( Information age )

สมาน ลอยฟ้า. (2544, - ตุลาคม - ธันวาคม). "การรู้สารสนเทศ : ทักษะที่จำเป็นสำหรับสังคมสารสนเทศ," มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ขอนแก่น. 19(1) :
การรู้สารสนเทศ : ทักษะที่จำเป็นสำหรับสังคมสารสนเทศในยุคสารสนเทศ ( Information age )
บุคคลต้องเผชิญกับสารสนเทศ ซึ่งมีมากมายหลากหลายรูปแบบ และสามารถ พบเห็นทุกหนทุกแห่งด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน ความเป็นมาของการรู้สารสนเทศได้มีการพูดถึงกันมากกว่า 20 ปีมาแล้ว โดยเริ่มปรากฏตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่1970 กล่าวคือ ในปี 1974 Zurkowski นายกสมาคมอุตสาหกรรมสารสนเทศ ถือว่าเป็นคนแรกที่พูดถึงมโนทัศน์การรู้สารสนเทศ โดยเป็นการกล่าวถึงลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ, ความหมายของสารสนเทศ

การรู้สารสนเทศ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความรู้สารสนเทศโดยเป็นกระบวนการทางปัญญาเพื่อสร้างความเข้าใจในความต้องการสารสนเทศการค้นหาการประเมิน การใช้สารสนเทศและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและการรู้สารสนเทศยังจำเป็นต้องอาศัยทักษะต่าง ๆ ลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ การรู้สารสนเทศเป็นชุดความสามารถและทักษะต่าง ๆ ที่จะเติบโตไปพร้อมกับผู้เรียน

ซึ่งสมาคมห้องสมุดแห่งอเมริกา ได้กำหนดองค์ประกอบของการรู้สารสนเทศไว้ 5 ประการดังนี้คือ
1. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจึงจะต้องการสารสนเทศ
2. ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ
3. ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ
4. ความสามารถในการประมวลผลสารสนเทศ
5. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้เรียนที่เป็นผู้รู้สารสนเทศ เนื่องจากผู้รู้สารสนเทศ
ผู้ที่มีความตระหนักว่าเมื่อใดจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ และสามารถค้นหาประเมินใช้ และ สื่อสารสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อการแก้ปัญหาหรือเพื่อการตัดสินใจผู้เรียนที่มีลักษณะเป็นผู้รู้สารสนเทศ ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ เนื่องจากสารสนเทศที่เข้ามาสู่บุคคลในรูปแบบต่าง ๆ นั้นเป็นสารสนเทศทั้งที่ผ่านการกลั่นกรองเป็นอย่างดี และ ไม่ได้มีการกลั่นกรอง จึงทำให้ผู้เรียนรู้ต้องพิจารณาเลือกสารสนเทศ การรู้สารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอน ในยุคสารสนเทศซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และ มีสารสนเทศใหม่ ๆ เกิดขึ้นรวดเร็วมาก และตลอดเวลานั้น ผู้เรียนจะต้องได้รับการสอนให้เป็นผู้เรียนตลอดชีวิต เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียนจะเป็นผู้กำหนดแนวทางในการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ และทักษะการเรียนรู้ ตลอดชีวิต ดังนั้น กระบวนการการเรียนรู้ในทุกระดับจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงโดยเป็นการเรียนรู้บทบาทของผู้เรียนจะกลายเป็นผู้เรียนที่มีอิสระตลอดชีวิต เป็นผู้ค้นหาสารสนเทศที่สร้างสรรค์ เป็นผู้ประเมินและผู้ใช้สารสนเทศเพื่อการแก้ปัญหาตลอดจนเป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นด้วยตนเองลักษณะการเรียนรู้ตนเองบทบาทของผู้สอน บทบาทของครูอาจารย์จะเปลี่ยนจากการเป็นผู้สอน หรือผู้นำเสนอข้อเท็จจริงไม่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียนหรือเป็นใครและเป็นผู้สร้างสิ่งแวดล้อมด้านการเรียนรู้สารสนเทศ ให้แก่ผู้เรียนบทบาทของบรรณารักษ์ บรรณารักษ์ จะต้องทำงานร่วมกับครูอาจารย์ ผู้บริหารและบุคคลอื่น ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสารสนเทศของผู้เรียนเป็นผู้ช่วยเหลือให้กลายเป็นผู้ค้นหาที่สร้างสรรค์และ กระตืนรือร้นการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้รู้สารสนเทศการรู้สารสนเทศเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้ที่อาศัยทรัพยากรเป็นสำคัญซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบการเรียนรู้ใหม่และการที่ผู้เรียนจะกลายเป็นผู้ใช้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพได้นั้นผู้เรียนจะต้องมีโอกาสที่บ่อยมากในการจัดการสารสนเทศทุก ๆ ประเภท


http://library.uru.ac.th/rps-db/list_news.asp?Id_new=N537

รายการบรรณานุกรมบทความวารสาร

ชุติมา สุจจานันท์. (2544, กันยายน – ธันวาคม). การรู้สารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา คนไทยและสังคมไทย. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 14 (3), 50-63.
หมายเลขประจำชื่อวารสาร : ว6 ส 72
สถานที่จัดเก็บวารสาร : อาคาร ม.ล.ปิ่น มาลากุล ชั้น 3 สำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยศิลปากร

รังสรรค์ สุกันทา. (2543, มีนาคม – มิถุนายน). การรู้สารสนเทศ (Information Literacy) : ขีดความสามารถที่จำเป็นเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วารสารครุศาสตร์, 28 (3), 17 – 24.
หมายเลขประจำชื่อวารสาร : ว6 ค45
สถานที่จัดเก็บวารสาร : อาคาร ม.ล.ปิ่น มาลากุล ชั้น 3 สำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยศิลปากร


ภรณี ศิริโชติ, และ ศิวราช ราชพัฒน์. (2546, พฤษภาคม – สิงหาคม). การสอนการรู้สารสนเทศทางเว็บไซด์ของห้องสมุด AN INFORMATION LITERACY INSTRUCTION THROUGH THE LIBRARY WEBSITES. บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ มข., 21 (2), 81 – 86.
หมายเลขประจำชื่อวารสาร : บ 444
สถานที่จัดเก็บวารสาร : อาคาร ม.ล.ปิ่น มาลากุล ชั้น 3 สำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยศิลปากร

สมาน ลอยฟ้า. (2544, ตุลาคม – ธันวาคม). การรู้สารสนเทศ : ทักษะที่จำเป็นสำหรับสังคมสารสนเทศ Information Literacy : Essential Skill for Information Society. วารสารมนุษศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น., 19 (1). 1 – 5.
หมายเลขประจำชื่อวารสาร : ว6 ม378
สถานที่จัดเก็บวารสาร : อาคาร ม.ล.ปิ่น มาลากุล ชั้น 3 สำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยศิลปากร

ดวงกมล อุ่นจิตติ. (2547, มกราคม – มิถุนายน). การประเมินการรู้สารสนเทศของนิสิตปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา, 85-102.
หมายเลขประจำชื่อวารสาร : ว6 ว6 73511
สถานที่จัดเก็บวารสาร : อาคาร ม.ล.ปิ่น มาลากุล ชั้น 3 สำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยศิลปากร


วชิราภรณ์ สังข์ทอง. (2547, กรกฎาคม-กันยายน). ห้องสมุดกับการพัฒนาโปรแกรมการรู้สารสนเทศสำหรับการศึกษาทางไกล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 50-62.
หมายเลขประจำชื่อวารสาร : ว6 ห57
สถานที่จัดเก็บวารสาร : อาคาร ม.ล.ปิ่น มาลากุล ชั้น 3 สำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยศิลปากร

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2550

บทความออนไลน์

ศรีสุภา นาคธน.การรู้สารสนเทศ[ออนไลน์].เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2550 เข้าถึงได้จาก
http://library.tru.ac.th/ebook/srisupa/003/04chap1.pdf

Plotnick,Eric.Information Literacy[Online].Access date:1 September 2007 Available:
http://www.libraryinstruction.com/infolit2.html

Lorenzen,Michael.High School Students and Their Use of the World Wide Web for Research[Online].Access date:1 September 2007 Available::
http://www.libraryinstruction.com/confusion.html

21st Century Skills[online].Access date:5 September 2007 Available::
http://www.ncrel.org/engauge/skills/infolit.htm

บรรณนิทัศน์หนังสือที่น่าสนใจ

ชื่อหนังสือ Information Literacy : Essential Skills for the Information Age Second Edition
โดย นายภูวดล ภักดี รหัส 0548321

ชื่อหนังสือ Information Literacy Instruction : Theory and Practice (Information Literacy Sourcebooks)
โดย นางสาววันวิสาข์ อังสถิตย์อนันต์ รหัส 0548388

ชื่อหนังสือ Information Literacy and Information Skills Insrtuction : Applying Research to Practice in the School Library Media Center 2nd Edition.
โดย นางสาวภิรฉัตร ชินวงศ์พรม รหัส 0548320

ชื่อหนังสือ Integrating Information Literacy into the Higher Education Curriculum: Practical Models for Transformation (The Jossey-Bass Higher and Adult Education Series)
โดย นางสาวกุสุมาลย์ หวังชูเกียรติ รหัส 0548043

ชื่อหนังสือ "สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษา เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา"
โดย นางสาวณุวรา คงสุข รหัส 0548144

ชื่อหนังสือ ทักษะการรู้สารสนเทศ
โดย รจวรรณ พุกผาสุข รหัส 0548340

ชื่อหนังสือ การจัดการความรู้กับคลังความรู้
โดย วิภา ตั้งประเสริฐวุฒิ รหัส 0548396

ชื่อหนังสือ การจัดการความรู้ฉบับมือใหม่หัดขับ
โดย อรณิชา จงเจริญ รหัส 0548480

ชื่อหนังสือ "การจัดการความรู้ (KM) ฉบับขับเคลื่อน LO"
โดย อุษามาส ตั้งเผ่าศักดิ์ รหัส 0548515

ชื่อหนังสือ "การจัดการความรู้...จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ"
โดย วิจิตรา คูนาเอก รหัส 0548565

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2550

หนังสือการรู้สารสนเทศ

หนังสือจากห้องสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

นิภาภรณ์ คำเจริญ. (2545). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ=Management information system : MIS พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ : เอส.พี.ซี. บุ๊คส์.
ISBN: 974-90337-2-8

คณาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2548). ทักษะการรู้สารสนเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ISBN: 9749849248

ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล และ เจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย. (2549). ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการความรู้=Information systems and knowledge management technology. พิมพ์ครั้งที่ 2 .กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ISBN: 9742122091

ฮันนีคัตต์, เจอรี. (2544). การบริหารความรู้ยุคสารสนเทศ=Knowledge management แปลโดย สุนันท์ บุญยธาดา. สำนักพิมพ์สามย่าน.com. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สามย่าน.com.
ISBN: 9748835316

ประพนธ์ ผาสุขยืด. (2547). การจัดการความรู้ ฉบับมือใหม่หัดขับ. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ : ใยไหม.
ISBN: 974491373-8