วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550

ทักษะที่จำเป็นสำหรับสังคมสารสนเทศในยุคสารสนเทศ ( Information age )

สมาน ลอยฟ้า. (2544, - ตุลาคม - ธันวาคม). "การรู้สารสนเทศ : ทักษะที่จำเป็นสำหรับสังคมสารสนเทศ," มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ขอนแก่น. 19(1) :
การรู้สารสนเทศ : ทักษะที่จำเป็นสำหรับสังคมสารสนเทศในยุคสารสนเทศ ( Information age )
บุคคลต้องเผชิญกับสารสนเทศ ซึ่งมีมากมายหลากหลายรูปแบบ และสามารถ พบเห็นทุกหนทุกแห่งด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน ความเป็นมาของการรู้สารสนเทศได้มีการพูดถึงกันมากกว่า 20 ปีมาแล้ว โดยเริ่มปรากฏตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่1970 กล่าวคือ ในปี 1974 Zurkowski นายกสมาคมอุตสาหกรรมสารสนเทศ ถือว่าเป็นคนแรกที่พูดถึงมโนทัศน์การรู้สารสนเทศ โดยเป็นการกล่าวถึงลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ, ความหมายของสารสนเทศ

การรู้สารสนเทศ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความรู้สารสนเทศโดยเป็นกระบวนการทางปัญญาเพื่อสร้างความเข้าใจในความต้องการสารสนเทศการค้นหาการประเมิน การใช้สารสนเทศและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและการรู้สารสนเทศยังจำเป็นต้องอาศัยทักษะต่าง ๆ ลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ การรู้สารสนเทศเป็นชุดความสามารถและทักษะต่าง ๆ ที่จะเติบโตไปพร้อมกับผู้เรียน

ซึ่งสมาคมห้องสมุดแห่งอเมริกา ได้กำหนดองค์ประกอบของการรู้สารสนเทศไว้ 5 ประการดังนี้คือ
1. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจึงจะต้องการสารสนเทศ
2. ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ
3. ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ
4. ความสามารถในการประมวลผลสารสนเทศ
5. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้เรียนที่เป็นผู้รู้สารสนเทศ เนื่องจากผู้รู้สารสนเทศ
ผู้ที่มีความตระหนักว่าเมื่อใดจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ และสามารถค้นหาประเมินใช้ และ สื่อสารสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อการแก้ปัญหาหรือเพื่อการตัดสินใจผู้เรียนที่มีลักษณะเป็นผู้รู้สารสนเทศ ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ เนื่องจากสารสนเทศที่เข้ามาสู่บุคคลในรูปแบบต่าง ๆ นั้นเป็นสารสนเทศทั้งที่ผ่านการกลั่นกรองเป็นอย่างดี และ ไม่ได้มีการกลั่นกรอง จึงทำให้ผู้เรียนรู้ต้องพิจารณาเลือกสารสนเทศ การรู้สารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอน ในยุคสารสนเทศซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และ มีสารสนเทศใหม่ ๆ เกิดขึ้นรวดเร็วมาก และตลอดเวลานั้น ผู้เรียนจะต้องได้รับการสอนให้เป็นผู้เรียนตลอดชีวิต เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียนจะเป็นผู้กำหนดแนวทางในการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ และทักษะการเรียนรู้ ตลอดชีวิต ดังนั้น กระบวนการการเรียนรู้ในทุกระดับจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงโดยเป็นการเรียนรู้บทบาทของผู้เรียนจะกลายเป็นผู้เรียนที่มีอิสระตลอดชีวิต เป็นผู้ค้นหาสารสนเทศที่สร้างสรรค์ เป็นผู้ประเมินและผู้ใช้สารสนเทศเพื่อการแก้ปัญหาตลอดจนเป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นด้วยตนเองลักษณะการเรียนรู้ตนเองบทบาทของผู้สอน บทบาทของครูอาจารย์จะเปลี่ยนจากการเป็นผู้สอน หรือผู้นำเสนอข้อเท็จจริงไม่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียนหรือเป็นใครและเป็นผู้สร้างสิ่งแวดล้อมด้านการเรียนรู้สารสนเทศ ให้แก่ผู้เรียนบทบาทของบรรณารักษ์ บรรณารักษ์ จะต้องทำงานร่วมกับครูอาจารย์ ผู้บริหารและบุคคลอื่น ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสารสนเทศของผู้เรียนเป็นผู้ช่วยเหลือให้กลายเป็นผู้ค้นหาที่สร้างสรรค์และ กระตืนรือร้นการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้รู้สารสนเทศการรู้สารสนเทศเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้ที่อาศัยทรัพยากรเป็นสำคัญซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบการเรียนรู้ใหม่และการที่ผู้เรียนจะกลายเป็นผู้ใช้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพได้นั้นผู้เรียนจะต้องมีโอกาสที่บ่อยมากในการจัดการสารสนเทศทุก ๆ ประเภท


http://library.uru.ac.th/rps-db/list_news.asp?Id_new=N537

ไม่มีความคิดเห็น: